วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรื่อง การขอตัวกำลังพลไปร่วมการแข่งขันกีฬา

แนวทางปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรม
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๑ พ.ค.๕๐ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา และกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้นักกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬาและเจ้าหน้าที่ไปฝึกซ้อม ก่อนการแข่งขันกีฬาภายใน และภายนอกประเทศ ดังนี้
การแข่งขันกีฬาภายในประเทศและภายนอกประเทศ
๑. การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เช่น การติดต่อประสานงาน การประชุม การสัมมนา การหารือ การฝึกซ้อมที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เช่น การอบรมผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน
๒. การอนุญาต อนุญาตให้นักกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยไม่ถือเป็นวันลา สำหรับกีฬาที่การกีฬาแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ในการเตรียมนักกีฬาเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ
๓. คุณสมบัตินักกีฬา ต้องเป็นนักกีฬาที่ได้คัดเลือกเป็นผู้แทนไปเข้าร่วมการแข่งขันของ การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนการขออนุญาตไปฝึกซ้อม
๔. ระยะเวลาการฝึกซ้อม ระยะเวลาการขออนุญาตให้นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬาไปฝึกซ้อมก่อนการแข่งขัน ต้องไม่เกินกำหนดดังนี้
๔.๑ การแข่งขันระดับกีฬาเยาวชนแห่งชาติและกีฬาแห่งชาติ ๖๐ วัน
๔.๒ กรณีส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน
๔.๒.๑ การแข่งขันระดับซีเกมส์ ๒๗๐ วัน
๔.๒.๒ การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเซีย ๙๐ วัน
๔.๒.๓ การแข่งขันระดับเอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์ ๓๖๕ วัน
๔.๒.๔ การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ๑๘๐ วัน
๔.๒.๕ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน การแข่งขันชิงชนะเลิศกีฬามหาวิทยาลัยแห่งเอเซีย การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดุร้อนและการแข่งขันชิงชนะเลิศกีฬามหาวิทยาลัยโลก
๔.๒.๖ กรณีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
(๑) การแข่งขันระดับซีเกมส์ การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเซีย การแข่งขันระดับเอเชี่ยนเกมส์และการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ๓๖๕ วัน
(๒) การแข่งขันระดับโอลิมปิกเกมส์ ๗๓๐ วัน

(๓) การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน การแข่งขันชิงชนะเลิศกีฬามหาวิทยาลัยแห่งเอเซีย การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนและการแข่งขันชิงชนะเลิศกีฬามหาวิทยาลัยโลก ๖๐ วัน
๔.๓ การทำรายงานการฝึกซ้อม นักกีฬาที่ได้รับอนุญาตให้ไปฝึกซ้อมต้องทำรายงานการฝึกซ้อมเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และต้องมีคำรับรองของผู้ควบคุมการฝึกซ้อมด้วย รวมทั้งให้ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ต้องทำรายงานการปฏิบัติหน้าที่ในการฝึกซ้อมกีฬาให้ผู้บังคับบัญชาทราบ นอกจากนี้ ยังให้เข้มงวดกวดขันว่าข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด จะต้องเป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันจริง และต้องฝึกซ้อมตามกำหนดวันที่ได้รับอนุญาตแล้ว
๔.๔ การขอตัว ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เป็นผู้ทำหนังสือขอตัวไปยังหน่วยงานต้นสังกัด โดยระบุระยะเวลาการขอตัวให้ชัดเจน และเป็นผู้ทำหนังสือส่งตัวกลับหน่วยงานต้นสังกัด เมื่อเสร็จภารกิจ
สบ.ทบ. กำหนดแนวทางปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ให้หน่วยที่รับผิดชอบ เสนอเรื่องขออนุญาตให้ไปฝึกซ้อมก่อนการแข่งขันไปยัง สก.ทบ./สง.คกฬ.ทบ. ในฐานะหน่วยรับผิดชอบ พิจารณาก่อนและให้เสนอเรื่องอนุมัติ ทบ.ก่อน ๑๐ วัน ทำการ
- - - - - - - - - - - - --

แนวทางการปฏิบัติในการรายงานขออนุมัติเกี่ยวกับงานการศึกษา และการลา

กพ.ทบ. แจ้งแนวทางการปฏิบัติในการรายงานขออนุมัติเกี่ยวกับงานการศึกษา และการลา โดยให้หน่วยถือปฏิบัติ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปได้ดังนี้
๑. การขออนุมัติให้ข้าราชการเดินทางไปราชการ เพื่อไปศึกษาอบรม ดูงานสัมมนา ประชุมทางวิชาการ หรือฝึกงาน ณ ต่างประเทศให้เสนอเรื่องตามสายการบังคับบัญชาถึง กพ.ทบ. ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
๑.๑ กรณีขออนุมัติให้ข้าราชการเดินทางไปราชการ ตามแผนงานประจำปีของ ทบ.
และหรือที่ดำเนินการโดยไม่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ทบ. ให้เสนอเรื่อง ถึง กพ.ทบ. ก่อนการเดินทางอย่างน้อย ๑๕ วันทำการ
๑.๒ กรณีขออนุมัติให้ข้าราชการเดินทางไปราชการ นอกแผนงานประจำปีของ ทบ. หรือขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก ทบ. ให้เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ก่อนเดินทางอย่างน้อย ๓๐ วันทำการ
๒. การขออนุมัติดำเนินงานด้านการศึกษา อบรม ดูงาน สัมมนา ประชุมทางวิชาการในประเทศ
๒.๑ กรณีเรื่องที่ กพ.ทบ. สามารถรายงานขออนุมัติโดยไม่ต้องประสานหน่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น ขออนุมัติเข้ารับการศึกษา อบรม ดูงาน สัมมนา ประชุมงานวิชาการภายในประเทศ
โดยไม่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก ทบ. ให้เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ก่อนดำเนินการอย่างน้อย ๑๐ วันทำการ
๒.๒ กรณีเรื่องที่ กพ.ทบ. ต้องประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องให้เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ก่อนดำเนินการอย่างน้อย ๒๕ วันทำการ
๓. กรณีเร่งด่วนไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางในข้อ ๑.๑ และ ๑.๒ ได้ขอให้เสนอเรื่องโดยพิจารณาใช้การนำสาร หรือโทรสาร ถึง กพ.ทบ. ก่อนกำหนดดำเนินการอย่างน้อย ๗ วันทำการ
พร้อมทั้งประสาน กพ.ทบ. (กองการศึกษาฯ) ให้ทราบเป็นการล่วงหน้า โทร. ๐๒ – ๒๙๗๗๐๑๑, ๐๒ – ๒๙๗๗๑๑๖ โทรสาร ๐๒ – ๒๙๗๗๐๑๑
๔. การลา
๔.๑ การลากิจ และลาพักผ่อนประจำปีไปต่างประเทศ ให้เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ก่อนเดินทางอย่างน้อย ๑๕ วันทำการ
๔.๒ การลากิจหลังจบการศึกษาไปต่างประเทศของนักเรียนทุนและข้าราชการประจำ สน.ผชท.ทบ./ไทยต่างประเทศ ให้เสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ก่อนดำเนินการอย่างน้อย ๓๐ วันทำการ
๔.๓ การลาติดตามคู่สมรส และการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้เสนอเรื่องล่วงหน้าก่อนดำเนินการ ๓๐ วันทำการ
๕. กรณีเร่งด่วน ไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางในข้อ ๑.๔ ได้ให้เสนอเรื่องโดยพิจารณาใช้นำสาร หรือโทรสารถึง กพ.ทบ. ก่อนเดินทางอย่างน้อย ๗ วันทำการ พร้อมทั้งประสาน กพ.ทบ.
(กองบริการกำลังพล ฯ) ให้ทราบเป็นการล่วงหน้า โทร.๐๒ – ๒๙๗๗๑๗๐, ๐๒ – ๒๙๗๘๐๖๔ โทรสาร ๐๒ – ๒๙๗๗๑๗๐
๖. การดำเนินการไม่ควรขออนุมัติย้อนหลัง ดังนั้นในกรณีที่หน่วยเสนอเรื่องถึง กพ.ทบ. ล่าช้ากว่าที่กำหนดจะไม่สามารถนำเรียน ขออนุมัติผู้บังคับบัญชาได้ทันเวลา หรือเป็นการขออนุมัติย้อนหลังจะถือเป็นข้อบกพร่องของเจ้าหน้าที่ของหน่วยและ กพ.ทบ. จะนำเรียนให้พิจารณาลงทัณฑ์ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ห้ามข้าราชการเดินทางก่อนได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาเป็นอันขาด ๗. การขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดินทางไปราชการการยกเลิกการเดินทาง, การขอเปลี่ยนแปลงวันลา หรือยกเลิกวันลา ให้ดำเนินการก่อนกำหนดวันเดินทางพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นโดยละเอียดและชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลนำเรียนให้ผู้บังคับบัญชาได้พิจารณา

การยกเลิกการเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการ

ตามที่มีหนังสือ ขอยกเลิกการเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการ ซึ่งรับราชการครบกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการ แล้วสมัครใจรับราชการในกองประจำการต่ออีก ๑ ปี เพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ ตามที่ได้รับอนุมัติเลื่อนกำหนดเวลาปลดจาก รมว.กห. (ผบ.ทบ. รับคำสั่ง) เพื่อสมัครสอบคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวนนั้น
แนวทางการปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินการเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทน
การเรียกเกณฑ์ ซึ่งดำเนินการตามคำสั่ง กห ที่ ๘๙๑/๒๕๔๔ ลง ๑๙ พ.ย.๔๔ และระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการเลื่อนกำหนดปลดทหารกองประจำการที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ว่าตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๓๘ บัญญัติไว้ สรุปได้ว่า การปลดทหารกองประจำการเป็นทหารกองหนุนชั้นที่ ๑ นั้น ถ้ากระทรวงกลาโหมเห็นว่ามีเหตุจำเป็นที่จะสั่งเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการออกไปอีกนั้น ต้องเป็นเหตุของทางราชการทหาร มิใช่เหตุจำเป็นส่วนบุคคลเฉพาะตัวของทหารกองประจำการ ดังนั้น ในกรณีทหารกองประจำการที่ประสงค์จะขอปลดจากกองประจำการ เพื่อสมัครสอบคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลเฉพาะตัวของทหารกองประจำการผู้นั้น มิใช่เป็นเรื่องรับราชการในกองประจำการครบกำหนดเวลาที่ได้สั่งเลื่อน หรือเหตุจำเป็นของทางราชการได้สิ้นสุดลง จึงไม่สามารถนำปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าว ผบ.เหล่าทัพ จึงไม่ได้รับมอบอำนาจอนุมัติ สั่งการ หรือทำการแทนในนามของ รมว.กห. เกี่ยวกับการขออนุมัติยกเลิกการเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการ